16 กุมภาพันธ์, 2554

ชุดการสอน

ชุดการสอน
     เป็นสื่อการสอนที่เป็นชุดของสื่อประสม (Multi-media) ที่จัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับ โดยจัดไว้เป็นชุด ๆบรรจุในซอง กล่อง หรือกระเป๋า แล้วแต่ผู้สร้างจะทำขึ้น
     ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วยจึงทำให้มั่นใจได้ว่าชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย

แนวคิดและหลักการของชุดการสอน

    การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเองเปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียนยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของ ชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้
ประเภทของชุดการเรียนการสอน

1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม
3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพ
องค์ประกอบของชุดการสอน

1. คู่มือครู บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ
2. เนื้อหาสาระและสื่อ
3. แบบประเมินผล

ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน

1.  กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
2.  กำหนดหน่วยการสอน
3.  กำหนดหัวเรื่อง
4.  กำหนดความคิดรวบยอดและหลักการ
5.  กำหนดวัตถุประสงค์
6.  กำหนดกิจกรรมการเรียน
7.  กำหนดแบบประเมินผล
8.  เลือกและผลิตสื่อการสอน
9.  หาประสิทธิภาพชุดการสอน
10.การใช้ชุดการสอน

ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู

1.  คำนำ
2.  ส่วนประกอบของชุดการสอน
3.  คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
4.  สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม
5.  บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
6.  การจัดห้องเรียน
7.  แผนการสอน
8.  เนื้อหาสาระของชุดการสอน
9.  แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม
10.แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน 

1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ
2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง
3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป
4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส
5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน
6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา


ประโยชน์ของชุดการสอน
1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล
2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู
3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน
4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู
5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน
6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น

อ้างอิง   บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing

ตัวอย่างชุดการสอน


ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เรื่องเซต (Set)
ชุดที่ 4   แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์
โดย
นางสุภาพร   ช่อมณี
โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา อำเภอโคกสำโรง  จังหวัดลพบุรี
ชื่อ.............................................................................
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 /.........            เลขที่...................


คำนำ
    ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชุดนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ครูใช้ประกอบการสอนและนักเรียนสามารถศึกษาและฝึกทักษะกระบวนการศึกษาด้วยตัวเอง ตรงตามแนวคิดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  ซึ่งชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  เรื่องเซต  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 1โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา ในชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ แบ่งเป็นชุดย่อยจำนวน   7 ชุด ดังนี้
ชุดที่ 1  เรื่องเซตและวิธีเขียนเซต
ชุดที่ 2  เรื่องประเภทของเซต
ชุดที่ 3  เรื่องสับเซตและเพาเวอร์เซต
ชุดที่ 4  เรื่องแผนภาพของเวนน์ –ออยเลอร์
ชุดที่ 5  เรื่องยูเนียนและ อินเตอร์เซกชัน
ชุดที่ 6  เรื่องคอมพลีเมนต์ และผลต่าง
ชุดที่ 7  เรื่องการนำเซตไปใช้แก้โจทย์ปัญหา
      ผู้จัดทำหวังว่าชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชุดนี้  จะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนและผู้เรียนนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญ และคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ทุกท่านที่ให้คำปรึกษา  แนะนำ และให้การสนับสนุน  ในการจัดทำชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จนสำเร็จด้วยดี

                                                                                                                                               

ชุดการเรียนการสอน ชุดที่ 4  
เรื่อง แผนภาพเวนน์ - ออยเลอร์ 

คำชี้แจงการใช้ชุดการเรียนการสอน 
1. ชุดการเรียนการสอนใช้เวลาเรียน  1 ชั่วโมง  ประกอบด้วย
1.1  แบบทดสอบก่อนเรียน -หลังเรียน
1.2  บัตรกิจกรรม 2 ชุด
1.3  บัตรเนื้อหา  1 ชุด
1.4  บัตรแบบฝึกหัด 2  ชุด 
1.5 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
1.6  บัตรเฉลยกิจกรรม
1.7  บัตรเฉลยแบบฝึกหัด
1.8  แผ่นซีดีบทเรียนโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
2.  นักเรียนต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน   ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนการสอน คณิตศาสตร์  เพื่อทดสอบความรู้เดิมและวัดการพัฒนาการเรียนรู้
3.  ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดให้ในแต่ละชุด อย่างรอบคอบ
4.  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความสนใจและเอาใจใส่  และต้องมีความซื่อสัตย์ห้ามเปิดเฉลยดูก่อน
5.  เมื่อศึกษาและทำกิจกรรมแต่ละชนิดเสร็จแล้วให้ตรวจสอบคำตอบจากเฉลยท้ายชุด
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์
6 . เมื่อมีปัญหาใดๆ เช่น ไม่เข้าใจบทเรียน  เรียนไม่ทันเพื่อน หรือทำแบบทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75  ให้ไปศึกษาจากบทเรียนโปรแกรม  The Geometer’s  Sketchpad  หรือจากบัตรเนื้อหา  หลาย ๆ ครั้งถ้ายังมีปัญหาอีกให้ขอคำปรึกษาและขอคำแนะนำจากครูผู้สอน

จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. แสดงเซตต่างๆโดยใช้แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์ และเมื่อกำหนดแผนภาพ
    เวนน์ – ออยเลอร์ สามารถแสดงเซตต่างๆได้
สาระการเรียนรู้
แผนภาพเวนน์ - ออยเลอร์
เวลาที่ใช้
เวลาที่ใช้  1  ชั่วโมง
สื่อการเรียนการสอน
1.  ชุดการเรียนการสอนเรื่องแผนภาพเวนน์ - ออยเลอร์
2.  แผ่นซีดี บทเรียนโปรแกรม The  Geometer’s  Sketchpad

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 
1.  นักเรียนรับชุดการเรียนการสอน คนละ 1 ชุดที่ครูผู้สอน
2.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
3.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆละ 3 คนโดย คละความสามารถ เก่ง  ปานกลาง  และอ่อน
4.  ให้นักเรียนแต่ละคนตอบคำถามในบัตรกิจกรรม ในชุดการเรียนการสอนโดยปรึกษากับ เพื่อนๆ ภายใน
     กลุ่มของตนเอง
5.  หลังจากตอบคำถามในบัตรกิจกรรมจนครบแล้วให้ศึกษาจากบัตรเนื้อหา และบทเรียน
โปรแกรม The  Geometer’s  Sketchpad (โดยใช้คอมพิวเตอร์กลุ่มละ 1 เครื่อง )ให้นักเรียน
แต่ละกลุ่มศึกษาเปรียบเทียบข้อสรุปแล้วส่งตัวแทนนำเสนอผลงาน

การประเมินผลการเรียนรู้
ประเมินผลโดยการทำบัตรแบบฝึกหัดและทำแบบทดสอบหลังเรียนเป็นรายบุคคลและตรวจสอบจากเฉลย  ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ  75 ให้กลับไปศึกษาใหม่ ประเมินผลจนผ่านเกณฑ์ และถ้ามีปัญหาขอคำปรึกษาและขอคำแนะนำจากครูผู้สอน

ข้อเสนอแนะ
นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 1  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   ของของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ หรือหนังสือประกอบอื่นๆ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

เขียนแผนภาพแทนเซต  และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับ
การหาสมาชิกของเซตได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อจบบทเรียนแล้ว  ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถ  ดังนี้

แสดงเซตต่างๆโดยใช้แผนภาพเวนน์ – ออยเลอร์ และเมื่อกำหนดแผนภาพ
เวนน์ – ออยเลอร์ สามารถแสดงเซตต่างๆได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น