ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ภาษาเป็นเรื่องทักษะ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ทาง คือ ทักษะการรับเข้า ได้แก่ การอ่านและการฟัง และทักษะการแสดงออก ได้แก่ การพูดและเขียน ทักษะทางภาษาจำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ แบบฝึกเสริมทักษะนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการเรียนภาษาได้มีผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญทางภาษา ให้ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ ดังนี้
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2535 : 16) ให้ความหมาย แบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง สิ่งที่นักเรียนต้องใช้ควบคู่กับการเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบฝึกที่ครอบคลุมกิจกรรมที่นักเรียนพึงกระทำ อาจกำหนดแยกเป็นแต่ละหน่วย หรืออาจรวมเล่มก็ได้
ลักษณา อินทะจักร (2538 : 161) ให้ความหมาย แบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง แบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ศศิธร ธัญลักษณานันท์ (2542 : 375) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง แบบฝึกเสริมทักษะที่ใช้ฝึกความเข้าใจ ฝึกทักษะต่าง ๆ และทดสอบความสามารถของนักเรียนตามบทเรียนที่ครูสอนว่า นักเรียนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด
กู๊ด (Good 1973 : 224, อ้างถึงใน ลักษณา อินทะจักร 2538 : 160) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า หมายถึง งานหรือการบ้านที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำ เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว และเป็นการฝึกทักษะการใช้กฎใช้สูตรต่าง ๆ ที่เรียนไป
พจนานุกรม เวบสเตอร์ (Webster 1981 : 64) ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่าหมายถึง โจทย์ปัญหา หรือตัวอย่างที่ยกมาจากหนังสือ เพื่อนำมาใช้สอนหรือให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น หลังจากที่เรียนบทเรียนไปแล้ว
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะ หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่ครู สร้างขึ้น โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น และช่วยฝึกทักษะต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง อาจจะให้นักเรียนทำแบบฝึกขณะเรียนหรือหลังจากจบบทเรียนไปแล้วก็ได้
ความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะ
ภายหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้วการเรียนการสอนนั้นย่อม ไม่เกิดผลอย่างเต็มที่ถ้าไม่ได้รับการฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญและเข้าใจอย่างแท้จริงโดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเพราะภาษาไทยเป็นวิชาทักษะซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ และการดำเนินชีวิตประจำวันตามที่หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ต้องการ ดังนั้นในการสอนภาษาไทยจึงต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว เพื่อช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษาเพิ่มขึ้นตามวัยและความสามารถของตนที่จะทำได้ และเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะทางภาษาให้ได้ผลดีก็คือ แบบฝึกเสริมทักษะ ดังที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
กมล ดิษฐกมล (2526 : 18, อ้างถึงใน ลักษณา อินทะจักร 2538 : 163) กล่าวว่า แบบฝึกเสริมทักษะเป็นหัวใจของการสอนวิชาทักษะอยู่ที่การฝึก การฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้นจะทำให้เกิดความชำนิชำนาญ คล่องแคล่วว่องไวและทำได้โดยอัตโนมัติ
วีระ ไทยพานิช (2528 : 11) ได้อธิบายว่า แบบฝึกเสริมทักษะทำให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำจริง เป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนมีจุดประสงค์แน่นอน ทำให้สามารถรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี จนนำไปใช้ในสถานการณ์เช่นเดียวกันได้
เพตตี้ (Petty 1963 : 269) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้อย่างชัดเจนว่าแบบฝึกเสริมทักษะเป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก ช่วยส่งเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทน ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะการให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง จะทำให้ประสบผลสำเร็จทางด้านจิตใจมาก ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถทบทวนสิ่งที่เรียนได้ด้วยตนเองและใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนได้อีกด้วย
ดังนั้น แบบฝึกเสริมทักษะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น แบบฝึกเสริมทักษะจึงนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนวิชาที่ต้องการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น
ลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะ
การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
นิตยา ฤทธิ์โยธี (2520 : 1) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมาแล้ว เหมาะสมกับระดับ วัย หรือความสามารถของเด็ก มีคำชี้แจงสั้น ๆ ที่ทำให้เด็กเข้าใจวิธีทำได้ง่าย ใช้เวลาเหมาะสมหรือใช้เวลาไม่นาน และเป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
สามารถ มีศรี (2530 : 28) กล่าวว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีต้องเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียนมาแล้วเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีคำสั่งและคำอธิบาย มีคำแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ มีรูปแบบที่น่าสนใจและมีกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ
โรจนา แสงรุ่งระวี (2531 : 22) กล่าวว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีนอกจากมีคำอธิบายชัดเจนแล้วควรเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาในการฝึกไม่นานเกินไปและมีหลายรูปแบบ
ฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ดี ครูผู้สร้างจะต้องยึดหลักจิตวิทยา ใช้สำนวนภาษาที่ง่าย เหมาะสมกับวัย ความสามารถของผู้เรียน มีกิจกรรมหลากหลาย มีคำสั่ง คำอธิบาย และคำแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่ชัดเจนเข้าใจง่าย ใช้เวลาในการฝึกไม่นานและที่สำคัญมีความหมายต่อชีวิต เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีผู้เสนอแนะไว้ดังนี้
วรนาถ พ่วงสุวรรณ (2518 : 34 – 37) ได้ให้หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
1. ตั้งจุดประสงค์
2. ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหา
3. ขั้นต่าง ๆ ในการสร้าง
3.1 ศึกษาปัญหาในการเรียนการสอน
3.2 ศึกษาหลักจิตวิทยาของเด็กและจิตวิทยาการเรียนการสอน
3.3 ศึกษาเนื้อหาวิชา
3.4 ศึกษาลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะ
3.5 วางโครงเรื่องและกำหนดรูปแบบให้สัมพันธ์กับโครงเรื่อง
3.6 เลือกเนื้อหาต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาบรรจุในแบบฝึกเสริมทักษะให้ครบตามที่กำหนด
เกสร รองเดช (2522 : 36-37) ได้เสนอแนะแนวทางในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะดังนี้
1. สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน คือ ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป
2. เรียงลำดับแบบฝึกเสริมทักษะจากง่ายไปหายาก โดยเริ่มจากการฝึกออกเสียงเป็นพยางค์ คำ วลี ประโยค และคำประพันธ์
3. แบบฝึกเสริมทักษะบางแบบควรใช้ภาพประกอบ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการฝึก และจะช่วยยั่วยุให้ติดตามต่อไปตามหลักของการจูงใจ
4. แบบฝึกเสริมทักษะที่สร้างขึ้นเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ง่าย ๆ ใช้เวลาในการฝึกประมาณ 30 ถึง 45 นาที
5. เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย แบบฝึกต้องมีลักษณะต่าง ๆ เช่น ประสมคำจากภาพ เล่นกับบัตรภาพ เติมคำลงในช่องว่าง อ่านคำประพันธ์ ฝึกร้องเพลง และใช้เกมต่าง ๆ ประกอบ
หลักจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพ สำหรับนำไปใช้กับนักเรียนนั้น ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้ และทฤษฎีที่ถือว่าเป็นแนวความคิดพื้นฐานของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเข้าช่วย เพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน
เดโช สวนานนท์ (2521 : 159 – 163) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ และสกินเนอร์ (Thorndike and Skinner) ดังนี้ ธอร์นไดค์ ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ขึ้น 3 กฎ ซึ่งนำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ ได้แก่
1. กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองจะดียิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมตอบสนองของตนถูกต้อง การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อีก
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) มีใจความว่า การที่มีโอกาสได้กระทำซ้ำ ๆ ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งนั้น ๆ จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การฝึกหัดที่มีการควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้
1. กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองจะดียิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมตอบสนองของตนถูกต้อง การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อีก
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) มีใจความว่า การที่มีโอกาสได้กระทำซ้ำ ๆ ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งนั้น ๆ จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การฝึกหัดที่มีการควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้
ตัวอย่าง แบบฝึกเสริมทักษะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น