17 กุมภาพันธ์, 2554

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทกกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2

บทนำ
  ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพทำให้วงการศึกษาได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในงานทางด้านการศึกษาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เนื้อ หาสาระวิชาการต่างๆ ไปสู่ผู้เรียน โดยผู้สอนเป็นผู้ใช้หรือผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองในสถานการณ์ที่ผู้เรียนมีความพร้อม(สถาพร สาธุการ.2547: ออนไลน์)สื่อทางคอมพิวเตอร์ที่นามาใช้ในปัจจุบันคือสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถนาเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบและนามาใช้สอนรายบุคคลได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นสื่อที่สามารถนาเสนอได้หลากหลายรูปแบบทัง้ ในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เสียงบรรยาย สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจึงจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถนามาใช้ประกอบในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างดี  
  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวและความสาคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์จะสามารถช่วยในการทาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในการเรียนวิชาภาษาไทยได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ จาการที่ผู้เรียนสามารถศึกษาและทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลาอีกทัง้ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่ครูผู้สอนทาให้มีเวลาสาหรับเตรียมการเรียนการสอนครั้งต่อไป หรือจัดหาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้อื่นๆได้มากขึ้น

ความมุ่งหมายของการวิจัย 
เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์85/85

ความสำคัญของการวิจัย
ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์85/85 และเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียในเนื้อหาอื่นๆต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนตรีมิตรวิทยา
ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 86 คน
2.กลุ่มตัวอย่าง
  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนตรีมิตรวิทยาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2552 ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistagerandom sampling) รวมทั้งสิ้น จำนวน 48 คน ผู้วิจัยค้นคว้าได้ดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามขั้นตอนดังนี้
สุ่มนักเรียนจำนวน 3 ห้อง โดยการจับสลากเป็นห้องเรียนที่1,2 และ 3 ตามลำดับ
1. จากห้องที่1 ส่มุ นักเรียนมาจำนวน 3 คนเพื่อใช้ในการทดลองครั้งที่1
2. จากห้องที่2 ส่มุ นักเรียนมาจำนวน 15 คนเพื่อใช้ในการทดลองครั้งที่2
3. สุ่มนักเรียนที่เหลือทั้งหมดจาก 3 ห้อง มาจำนวน 30 คน เพื่อใช้ในการทดลองครั้งที่3
3.เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
เนื้อหาวิชาในการวิจัยค้นคว้าพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน
ตอนที่1 ประวัติความเป็นมาและผู้แต่ง
ตอนที่2 บทประพันธ์รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
ตอนที่3 เนื้อเรื่องย่อ
ตอนที่4 ตัวละคร และ คำศัพท์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1.บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2
2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ฉบับ
3.1 แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
3.2 แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
การดำเนินการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพในการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ได้ดำเนินการทดลอง 3 ครั้ง กับกลุ่มตัวอย่าง 48 คน ลำดับขั้นตอนดังนี้
การทดลองครั้งที่1 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ไปทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนจำนวน 3 คน โดยให้กล่มุ ตัวอย่างเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น แบบ 1 คนต่อ 1 เครื่อง แล้วใช้วิธีการสังเกต ขณะทำการทดลอง สอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างภายหลังการทดลอง เพื่อหา ข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขครั้งที่1
การทดลองครั้งที่2 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วจากการทดลองครั้งที่1ไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนจำนวน 15 คน โดยให้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น จำนวน 1 คน ต่อ 1 เครื่อง ในขณะที่เรียนเรื่องที่1 ผู้เรียนจะต้องทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนพร้อมกันไปด้วย และเมื่อเรียนจบตอนที่1 แล้ว ผู้เรียนจะต้องทำแบบทดสอบหลังเรียนของตอนที่1 ทำเช่นเดียวกันนี้กับตอนที่2 และ 3 และ 4 เมื่อครบทั้ง 4 ตอนแล้ว นำผลคะแนนของแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนของแต่ละตอนที่ได้ไปหาแนวโน้มประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้สูตร E1/E2การทดลองครั้งที่3 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วจากการทดลองครั้งที่
2 ไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียน จำนวน 30 คน โดยให้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น จำนวน 1 คนต่อ 1 เครื่อง ในขณะทีเรียนตอนที่1 ผู้เรียนจะต้องทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนพร้อมกันไปด้วย และเมื่อเรียนจบตอนที่1 แล้ว ผู้เรียนจะต้องทำแบบทดสอบหลังเรียนของตอนที่1 ทำเช่นเดียวกันนี้กับตอนที่2 และ 3 และ 4 เมื่อครบทั้ง 4 ตอนแล้ว นำผลคะแนนของแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนของแต่ละตอนที่ได้ไปหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้สูตร E1/E2

สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัย พบว่า
1.ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก สำหรับนักเรียนชั้น ม.2
2.คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีความคิดเห็นว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมีคุณภาพอยู่ในระดับดีและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษามีความคิดเห็นว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
3.ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ทั้ง 4 ตอน มีประสิทธิภาพโดยรวมเป็น 89.42/89.92โดยแต่ละเรื่องมีประสิทธิภาพดังนี้
ตอนที่1 ประวัติความเป็นมาและผู้แต่ง มีประสิทธิภาพ 91.33/92.67
ตอนที่2 บทประพันธ์รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทกมีประสิทธิภาพ 88.33/89.00
ตอนที่3 เนื้อเรื่องย่อ มีประสิทธิภาพ 87.33/88.67
ตอนที่4 ตัวละคร และ คำศัพท์มีประสิทธิภาพ 90.67/89.33

อภิปรายผล
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2พบว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพคือ89.42/89.92 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 85/85 การประเมินคุณภาพของบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีความเห็นว่าบทเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับดีและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษามีความเห็นว่าบทเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับดี ซึ่งสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1.จากการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะเห็นได้ว่าบทเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อาจเนื่องมาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่ผู้วิจัยค้นคว้าสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่สร้างขึ้นโดยผ่านขั้นตอนการสร้างที่มีระบบได้รับการตรวจสอบ แก้ไข ตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา รวมไปถึงการดำเนินการทดลองตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา
2.บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเองอย่างอิสระ ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนใหม่ได้เมื่อไม่เข้าใจและใช้เวลาในการเรียนรู้ได้ตามความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมีกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน การนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย และเสียงดนตรี มาประกอบที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจและไม่เกิดความเบื่อหน่าย เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนเมื่อทำผิดจะเฉลยคำตอบที่ถูกต้องและให้ผู้เรียนทราบผลคะแนน ส่วนแบบทดสอบจะให้ผู้เรียนทราบผลคะแนนตอนทำครบหมดทุกข้อของแต่ละตอนที่เรียนเพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้ครั้งต่อไปดังนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2ที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้จริง ตามสาระและมาตราฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544

ข้อเสนอแนะ
จากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทกสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.ในการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียควรมีการวางแผนการทำให้เป็นระบบเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อสะดวกในการกลับมาแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษา และจะทำให้ในการทำบทเรียนง่ายต่อการสร้างเพราะผู้วิจัยได้ทำตามขั้นตอนที่ได้วางระบบไว้
2.บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องหนึ่ง อาจถูกพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยโปรแกรมหลายโปรแกรม ทำให้เมื่อเวลานำไปใช้จริง อาจเกิดปัญหาในขณะเรียนได้ ผู้สร้างควรคำนึงถึงมาตรฐานของสมรรถนะและโปรแกรมประยุกต์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ถ้าหากผู้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียใช้โปรแกรมใช้โปรแกรมประยุกต์ที่นอกเหนือจากมาตรฐานของเครื่องทั่วไป ควรทำเครื่องมือการใช้และคำแนะนำการติดตั้งโปรแกรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ในเนื้อหาอื่นๆ ต่อไป เนื่องจากเป็นบทเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
2.ควรมีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาภาษาไทยในรูปแบบใหม่ๆที่หลากหลายเพื่อเร้าความสนใจและส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เช่น การทำภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบ 3 มิติ การทำบทสนทนาโต้ตอบระหว่างบทเรียนโปรแกรมกับผู้เรียน
3.ควรมีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางในการศึกษาและเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่าง













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น